อานิสงส์การเป็นเจ้าภาพอุปสมบทพระ และบรรพชาสามเณร

เผยแพร่เมื่อวันที่

เป็นเจ้าภาพบวชพระ เเละบวชเณรได้ตามนี้ครับ


อานิสงส์การเป็นเจ้าภาพอุปสมบทพระ และบรรพชาสามเณร


ต่อแต่นี้ไปจะนำเอาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จ พระประทีปแก้วบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าด้วยเรื่อง

อานิสงส์การบรรพชา มาคุยกับบรรดาท่านพุทธบริษัท ความมีว่าองค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์เมื่อทรงพระชนม์อยู่

องค์สมเด็จพระบรมปรารถเรื่องการอุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา

องค์สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่าการอุปสมบทบรรพชานี้มีอานิสงส์พิเศษ อานิสงส์อย่างอื่น

มีการสร้างวิหารทานก็ดี การถวายสังฆทานก็ดีทอดกฐินผ้าป่าก็ดี จัดว่าเป็นอานิสงส์สำคัญ

แต่อานิสงส์นี้นั้นบุคคลที่จะพึ่งได้ต้องโมทนาก่อน หมายความว่า ถ้าบุตรธิดาของตนบำเพ็ญกุศลบิดามารดาไม่โมทนาย่อมไม่ได้

แต่ว่าการอุปสมบมบรรพชานี้แปลกกว่านั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ว่า

สมมุติว่าบุตรชายของท่านผู้ใดออกจากครรภ์มารดาวันนั้น บิดามารดาก็จากกัน ลูกกับพ่อ ลูกกับแม่ย่อมไม่รู้จักกันเวลาที่บรรพชานั้น

บิดามารดาก็ไม่ทราบ แต่ทว่า ถึงอย่างก็ดีองค์สมเด็จพระชินศรีตรัสว่า บิดามารดาย่อมได้อานิสงส์โดยสมบูรณ์นี่เป็นอันว่า

อานิสงส์แห่งการการอุปสมบทบรรพชานี้แปลกจากบุญกุศลอย่างอื่น เป็นอันว่าขอพูดซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่าบุญอย่างอื่นลูกทำไปแล้ว

พ่อแม่ไม่โมทนาย่อมไม่ได้อานิสงส์นั้นแต่ว่าการอุปสมบทและบรรพชา บิดามารดาซึ่งคลอดบุตรมาแล้วต่างคนต่างจากกันไป

พ่อแม่ไม่ทราบว่าบุตรมีรูปร่างหน้าตาเป็นประการใดเพราะจากกันไปตั้งแต่คลอดใหม่ๆ

สำหรับลูกชายก็ไม่ทราบเหมือนกันว่าบิดารมารดาเป็นใคร

แต่ว่าอุปสมบรรพชาเมื่อไรบิดามารดาย่อมได้อานิสงส์สมบูรณ์ เหตุนี้การอุปสมบทบรรพชาจึงจัดว่า เป็นกุศลพิเศษ

ที่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ทรงบัญญัติไว้ ทีนี้จะว่ากันไปถึงอานิสงส์แห่งการอุปสมบทบรรพชา

คำว่า บรรพชา นี้หมายความว่าบวชเป็นเณร คำว่า อุปสมบท นี้หมายความว่า บวชเป็นพระ สำหรับท่านที่บรรพชาในพุทะศาสนาเป็นสามเณร

อันนี้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าท่านผู้บรรพชาเองคือเณร ถ้าประพฤติปฏิบัติดีนี่เอากันถึงด้านการประพฤติปฏิบัติดี

ถ้าปฏิบัติเลวการการบวชเณรก็ถือว่าเป็นการซื้อนรกถ้าปฏิบัติดีนั้น องค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า

ท่านที่บวชเข้ามาเป็นเณรในพุทธศาสนาแล้วปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามระบอบพระธรรมวินัย สำหรับเณรผู้นั้นย่อมมีอานิสงส์คือ

ถ้าตายจากความเป็นคนถ้าจิตของตนมีกุศลธรรมดา ไม่สามารถจะทรงจิตเป็นฌานองค์สมเด็จพระพิชิตมารตรัสว่า

ท่านผู้นั้นจะเสวยความสุขบนโลกมนุษย์ได้ถึง 30 กัป เช่นเดียวกัน การนับกัปหนึ่ง... คำว่ากัปหนึ่งนั้นมีปริมาณนับปีไม่ได้

องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาทรงเปรียบเทียบไว้อย่างนี้ว่า มีภูเขาลูกหนึ่ง เป็นหินล้วนไม่มีดินเจือปนถึงเวลา 100 ปี

เทวดาเอาผ้ามีเนื้ออ่อนเหมือนสำลีมาปัดยอดเขานั้นครั้งหนึ่ง ทำอย่างนี้ 100 ปีปัด 1 ครั้ง 100 ปีปัด 1ครั้ง จนกระทั่งหินนั้นหมดไป

หาหินไม่ได้เหลือแต่ดินล้วน นั่นจึงจะมีอายุได้ครบ 1 กัป และอีกประการ หนึ่งท่านพรรณนาไว้ในพระวิสุทธิมรรคว่า

มีอุปมาเหมือนกับว่ามีถังใหญ่ลูกหนึ่งมีความ สูง 1 โยชน์ กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์เหมือนกัน

มีคนเอาเมล็ดพันธุ์ผัดกาดมาใส่ในถังนั้นจนเต็มถึงเวลา 100 ปี ก็เอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นออก 1 เมล็ด

ทำอย่างนี้จนกว่าเมล็ดพันธุ์ผัดกาดนั้นจะหมดไป เป็นการเปรียบเทียบกันได้กับระยะเวลา 1 กัป

นี่เป็นอันว่ากัปหนึ่งเราจะนับเวลาประมาณไม่ได้ เช่นกัปหนึ่งเราจะนับเวลาประมาณไม่ได้

เช่นกัปในปัจจุบันนี้สามารถจะ ทรงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ถึง10 พระองค์

เป็นระยะยาวนานมากองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวว่า ท่านที่บวชเป็นเณรเอง และมีความประพฤติปฏิบัติดี

ต้องเป็นเทวดาหรือพรหมอยู่ถึง 30 กัป นั่นก็หมายความว่าอายุเทวดาหรือพรหมย่อมีกำหนดไม่ถึง 30 กัป

และเมื่อหมดอายุแล้วจะเกิดเป็นพรหมใหม่ อยู่บนนั้นไปจนกว่าจะถึง 30 กัป หรือมิฉะนั้นก็ต้องเข้านิพพานก่อน

สำหรับ บิดามารดา ของบุคคลผู้บวชเป็นสามเณร ย่อมได้อานิสงส์คนละ 15กัป คือครึ่งหนึ่งของเณร

หมายความว่าบิดารมีอานิสงส์ 15 กัป มารดามีอานิสงส์เสวยความสุขบนสวรรค์หรือพรหมโลก15 กัป เช่นเดียวกัน

เป็นอันว่าบรรพชากุลบุตรของตน ไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นสามเณรมีอานิสงส์อย่างนี้

องค์สมเด็จพระมหามุนีตรัสต่อไปว่าบุคคล ผู้ใดมีวาสนาบารมีคือมีศรัทธาแก่กล้าตั้งใจอุปสมบทในพุทธศาสนาเป็นพระสงฆ์

แต่ว่าเมื่อบวชแล้วก็ต้องปฏิบัติชอบประกอบไปด้วยคุณธรรม

คือมีพระธรรมวินัยเป็นสำคัญอันนี้องค์สมเด็จพระภควันต์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า

ท่านที่บวชเป็นพระด้วยตนเองจะมีอานิสงส์พิเศษที่องค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ตรัสไว้

แต่ทว่า ภิกษุสามเณรท่านใดผิดบทบัญญัติในพระพุทธศาสนาก็พึงทราบว่า เมื่อเวลาตายก็มีอเวจีเป็นที่ไปเหมือนกันอานิสงส์ที่พึงได้ใหญ่เพียงใด

โทษก็มีใหญ่เพียงนั้นสำหรับบรรดาท่านผู้ไม่ใช่บิดามารดาของ บุตรกุลธิดาที่อุปสมบทบรรพชาในพระพุทธศาสนา

เป็นผู้ช่วยในการบวช นี่หมายความว่า เวลาเขาจะบวชพระครั้งหนึ่ง

เราทราบเข้าก็ไปบำเพ็ญกุศลร่วมกับเข้าด้วยจตุปัจจัยมากบ้างน้อยบ้าง

ให้สิ่งของบ้างช่วยขวยขวายในกิจการงานในการที่จะอุปสมบทบ้าง

หมายความว่าเขาจะบวชลูกบวชหลานของเขา เราไม่มีลูกหลานจะบวชเขามาบอกบุญมาหรือไม่บอกบุญก็ตาม

เอาจตุปัจจัยบ้าง เอาของที่จะพึ่งจะใช้ในงานบ้าง ไปช่วยในงานด้วยความเลื่อมใสถ้าไม่มีจตุปัจจัย

ไม่มีของ ก็เอากายไปช่วยช่วยขวนขวายในกิจการงาน อย่างนี้องค์ สมเด็จพระพิชิตมารบรมศาสดากล่าวว่า

ท่านผู้นั้นจะมีอานิสงส์เสวยความสุขอยู่บนสวรรค์ หรือในพรหมโลก คนละ 8 กัป

แต่ถ้าหากเป็นคนฉลาด อย่างเช่นเขาบวชพระกัน42 องค์

เราก็ช่วยกันบำเพ็ญกุศลช่วยในการบวชพระ

ไม่เจาะจงท่านผู้ใดผู้หนึ่งเรียกว่าช่วยหมดทั้ง 42 องค์ ก็ต้องเอา 42ตั้งเอา 8 คูณ นี่เป็นอันว่า...

อานิสงส์ที่ที่จะพึงได้ในการอุปสมบทบรรพาชากุลบุตรกุลธิดา

ในพระพุทะศาสนาสำหรับผู้ช่วยงานแต่สำหรับท่านผู้เป็น เจ้าภาพ ในฐานะ คนที่บวชไม่ได้เป็นบุตรของเรา

แต่ว่าเป็นผู้จัดการขวยขวายในการอุปสมบทบรรพชาให้

อันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดากล่าวว่า ท่านผู้จัดการบวชจะ

ได้อานิสงส์ 12 กัป จะมีผลหลั่นซึ่งกันและกัน โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ธรรมปฏิบัติเล่ม 1หน้า 29-35

รูปภาพ - อานิสงส์การเป็นเจ้าภาพอุปสมบทพระ และบรรพชาสามเณร

อานิสงส์การเป็นเจ้าภาพอุปสมบทพระ และบรรพชาสามเณร

บทความอื่นๆ